หม้อข้าวหม้อแกงลิง

          ในบรรดาพืชกินแมลงทั้งหมด หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินแมลงที่ธรรมดาและปลูกง่ายที่สุด ทำให้พบเห็นขายเยอะที่สุด มีเสน่ห์ความสวยที่หม้อหรือกับดัก และนักสะสมพืชกินแมลงเกือบทุกคนมักจะมีจุดเริ่มต้นมาจากหม้อข้าวหม้อแกงลิง ตัวผมเองก็เช่นกัน  หม้อข้าวหม้อแกงลิงของผมคือ พันธ์เวนตาต้า (N. x ventrata) จากที่ผมเป็นคนไม่สนใจต้นไม้เลย ก็ได้เปลี่ยนเป็นนักสะสมหม้อข้าวหม้อแกงลิง และสะสมพืชกินแมลงในเวลาต่อมา

เรื่องของ CITES

          หม้อข้าวหม้อแกงลิง ถูกบรรจุรายชื่ออยู่ในบัญชีพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาไซเตส หมายถึง เป็นพืชที่สามารถส่งออกนอกประเทศได้ (แม้ว่าจะเป็นต้นที่ขุดมาจากธรรมชาติ หรือเกิดจากการเพาะชำของเราเอง) แต่ต้องไม่ผิดกฎหมายภายในประเทศ สำหรับประเทศที่ส่งออกต้องมีหนังสือรับรองว่า ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำรงชีวิตในแหล่งธรรมชาติ
          N. khasiana และ N. rajah หม้อข้าวหม้อแกงลิง2ชนิดนี้ เพราะถูกจัดอยู่ในบัญชีพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 ของอนุสัญญาไซเตส หมายถึง เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ห้ามขุดมาจากป่าโดยเด็ดขาด และการนำเข้าส่งออกจะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศผู้นำเข้าก่อน

CITES ย่อมาจาก Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora

          เมื่อปี2552 พึ่งจบ ป.ตรี ด้วยความไม่รู้ ผมเห็นเขานำเข้าหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาขายและกำไรดีมากเลย ผมก็ลองติดต่อมาขายบ้าง ปรากฎว่าเนื่องจากผมไม่ได้ขออนุญาตอะไรเลย ‘ด่านตรวจพืช’ จะจับผมเข้าคุก ทั้งจำทั้งปรับ แต่โชคดีที่เจ้าหน้าที่สงสารผม เห็นผมไม่รู้เรื่องอะไร เลยทำเป็นว่าไม่มีคนมารับของ แล้วส่งของกลับอินโดนีเซีย (เกือบไปแล้ว)

ชื่อ หม้อข้าวหม้อแกงลิง, nepenthes

หม้อข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: nepenthes; ชื่อสามัญ: tropical pitcher plants หรือ monkey cups) ( nə’pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne = ไม่penthos = โศกเศร้า, ความเสียใจ; ชื่อของภาชนะใส่เหล้าของกรีกโบราณ (กรีก: Nepenthe) )
ที่มาของชื่อ
Monkey Cup คือ ลิงมักจะมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ความเป็นมาของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิง มีมากกว่า 160 ชนิด และลูกผสมอีกมากมาย ส่วนใหญ่มีถิ่นกำาเนิดในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้  แต่มี 3 ชนิด  ที่กระจายพันธุ์ไปไกลทางตะวันออกถึงทวีปออสเตรเลีย  และอีก 2 ชนิด กระจายพันธุ์ไปไกลทางตะวันตก  ถึงเกาะมาดากัสการ์ แม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่พบอยู่ในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้  แต่ชนิดแรกที่ได้รับการบันทึกไว้ในปี  ค.ศ. 1658  คือ  N. madagascariensis Poir.  ซึ่ง  Etienne de Flacurt  ข้าหลวงฝรั่งเศสประจำามาดากัสการ์เป็นผู้สำารวจพบ  บรรยายถึงความ แปลกประหลาดของพืชชนิดนี้ไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของเกาะ มาดากัสการ์ว่า  “ดอกหรือผลดูคล้ายแจกันใบเล็กๆที่มีฝาปิด”  สำาหรับชนิดที่สองที่มีการค้นพบ  คือ   N. distillatoria L.  ซึ่งเป็น หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดเดียวที่พบในศรีลังกา  หลังจากที่คาร์ล  ลินเนียส  เห็นตัวอย่างพรรณไม้แห้งของพืชชนิดนี้เป็นครั้งแรก  ทำาให้เขาระลึกถึงยาที่เรียกว่า  “Nepenthe” ของเฮเลนแห่งทรอย  ในมหากาพย์โอดิสซีย์บทประพันธ์ชองโฮเมอร์  ที่เล่ากันว่าเป็นยาที่ ช่วยให้ลืมความโศกเศร้า  ลินเนียส  บรรยายไว้ว่า

“If this is not Helen’s Nepenthes, it certainly will be for all botanists. What botanist would not be filled with admiration if, after a long journey, he should find this wonderful plant. In his astonishment past ills would be forgotten when beholding this admirable work of the creator!”

นั่นคือที่มาของชื่อสกุล  Nepenthes  ซึ่งลินเนียสตั้งขึ้นในปี  ค.ศ. 1737  และนับว่า  N. distillatoria L. เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ชนิดแรกที่ได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์  อย่างไรก็ตาม  ทั้งลินเนียส และนักพฤกษศาสตร์อีกหลายท่านในยุคนั้น  ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับพืช กินแมลง  จึงสันนิษฐานกันว่าส่วนหม้อที่เกิดบริเวณปลายใบมีหน้าที่ เก็บน้ำเพื่อให้พืชอยู่รอดในสภาวะที่แห้งแล้ง

หม้อ PITCH

จุดเด่นของหม้อข้าวหม้อแกงลิง ก็คือกับดักของมันที่เราเรียกว่า “หม้อ”

หม้อมี 2 ลักษณะคือ หม้อล่าง (Lower Pitcher) กับ หม้อบน (Upper Pitcher)

หม้อล่าง (Lower Pitcher)
จะมีลักษณะสายดิ่งอยู่ด้านเดียวกับปีกของหม้อ

ลักษณะหม้อล่าง หม้อข้าวหม้อแกงลิง พันธุ์แอมพูลาเลีย

หม้อบน (Upper Pitcher)
จะมีลักษณะสายดิ่งอยู่คนละด้านกับปีกของหม้อ

ลักษณะหม้อบน หม้อข้าวหม้อแกงลิง พันธุ์แอมพูลาเลีย

ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงสายพันธ์ที่มีหม้อเป็นหม้อล่าง พอต้นเริ่มสูงได้ระยะนึงจะมีการเปลี่ยนลักษณะของหม้อเป็นหม้อบน แต่สายพันที่เป็นหม้อบนโดยกำเนิดจะไม่มีการเปลี่ยนเป็นหม้อล่าง

พันธ์ที่มีหม้อเป็นหม้อล่างเมื่อเปลี่ยนเป็นหม้อบน ยอดหรือใบที่เติบโตต่อจากนี้จะไม่มีการเปลี่ยนกลับเป็นหม้อล่าง และหากเอากิ่งส่วนนี้ไปขยายพันธ์ หม้อที่ออกมาก็จะเป็นหม้อบน แต่ในส่วนบริเวณโคนต้นที่ยังเป็นหม้อล่างอยู่ เมื่อลักษณะของหม้อได้เปลี่ยนเป็นหม้อบน หากเราต้องการให้เป็นหม้อล่างให้ตัดกิ่งส่วนที่เป็นหม้อบนหรือตัดให้ใกล้โคนต้นออก เพื่อให้เกิดการแตกตาใหม่บริเวณโคนต้น หม้อที่เกิดใหม่ก็จะเป็นลักษณะหม้อล่าง

อย่าสับสนกับคำว่า Highland Lowland นะครับ (ขอพูดในบทต่อไป)

คนมักเข้าใจผิด คิดว่า'หม้อ'คือดอก

คนมักเข้าใจผิดคิดว่า หม้อหรือส่วนของกับดักคือ ดอก คงเป็นเพราะ

  1. มันเป็นจุดเด่นและเป็นส่วนที่สวยงามของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
    แต่ความจริงแล้ว มันเป็นส่วนของปลายใบที่พัฒนามาเป็นกับดัก
  2. มันมีใบเทียมที่มีลักษณะเหมือนใบไม้ทั่วไป (ใครจะไปรู้ว่ามีใบเทียมใช่มั๊ยล่ะ)
คนมักเข้าใจผิด คิดว่า ฝาหม้อจะปิดเมื่อมีแมลงตกลงไป

ถ้าแมลงตกลงไปในหม้อแล้ว ส่วนฝาก็จะปิดลงเพื่อไม่ให้เหยื่อออกมา ความจริงคือ ฝาจะไม่ปิดลงมา แต่เหยื่อจะปีนออกจากหม้อไม่ได้เพราะผนังของมันมีความลื่นทำให้ปีนออกมาไม่ได้

          นี่ก็เป็นเรื่องราวของ “หม้อข้าวหม้อแกงลิง” ที่นิทานบ้านไร่นำมาเล่าให้ทุกคนได้รู้จักกันครับ สำหรับใครที่อยากลองเลี้ยงพืชกินแมลง เราแนะนำให้เริ่มจาก ‘หม้อข้าวหม้อแกงลิง’ ก่อนเลย หาง่ายและเลี้ยงไม่ยาก
          หากสนอยากลองเลี้ยงหรือขอคำปรึกษาการเลี้ยงพืชกินแมลงสามารถติดเราได้ที่ LINE: @bokujoufarm
สำหรับตอนหน้าเราจะมีเรื่องอะไรมาเล่า อย่าลืมกด Like กดติดตามเพจ “นิทานบ้านไร่ bokujou” วันนี้ลาไปก่อน สวัสดีครับ

ถ้าชอบบทความ หรือสาระความรู้นี้มีประโยชน์
อย่าลืมแชร์ต่อให้เพื่อนๆได้อ่านด้วยนะครับ

Top