7 สิ่งต้องรู้ก่อนทำเกษตร

          หลายๆคนที่เบื่องานประจำ อยากลาออก มักอยากหนีความวุ่นวายมาทำเกษตร เพราะภาพจำจากโฆษณาต่างๆว่า มีความสุข ความพอเพียง แต่ความจริงแล้วการเกษตรก็เป็นการทำธุรกิจอย่างนึง มีการแข้งขัน มีอุปสรรคมีโจทย์ให้ต้องแก้ไข และนี่คือ 7 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำเกษตร

7 สิ่งต้องรู้ก่อนทำการเกษตร

1. สถานที่ตั้ง

     การเลือกสถานที่ตั้งหรือทำเลการปลูกที่ดี ถือว่าเป็นก้าวแรกของการนำไปสู่ความสำเร็จในการทำการเกษตร พืชผักที่สามารถเจริญได้ดีส่วนใหญ่ต้องได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง นอกจากนี้แสงแดดยังช่วยชักนำให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น ลดปัญหาโรคและแมลงต่างๆ แปลงพืชผักต้องมีคุณสมบัติของดินที่ดีและไม่ควรอยู่ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ที่จะแย่งธาตุอาหารและน้ำกับพืชผัก สถานที่ปลูกควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำซึ่งสามารถให้น้ำอย่างเพียงพอแก่การเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระยะแห้งแล้งที่สุดของปี เพราะการทำเกษตรต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ การอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เพียงพอ

2. ขนาดของพื้นที่

     พื้นที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก ต้องการผลิตผักเพื่อป้อนตลาดอย่างไร การผลิตเพื่อบริโภคภายในครอบครัวหรือภายในตำบลจะใช้พื้นที่ขนาดเล็ก แต่ถ้าปลูกเพื่อส่งตลาดกลางหรือส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่และมีการวางแผนในการใช้พื้นที่ปลูก อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

3. จำนวนแรงงานที่ใช้

     สำหรับการเกษตรขนาดเล็กมักใช้แรงงานภายในครอบครัว แต่สำหรับการเกษตรขนาดใหญ่แรงงานนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญเพราะต้องใช้คนจำนวนมาก การใช้เครื่องมือเครื่องทุนแรงช่วยควบคุมกิจกรรมการผลิตสามารถลดปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม การเกษตรบางชนิดก็มีลักษณะงานหลายขั้นตอนที่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนเข้าช่วย เช่น การปลูกผัก ที่จะต้องมีขั้นตอนต่างๆได้แก่ การเตรียมต้นกล้า การย้ายกล้าปลูก การซ่อมต้นกล้า และการเก็บเกี่ยว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับแรงงานให้เหมาะสมกับงาน และมีการบริหารงานที่สามารถใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เครื่องมือและเครื่องทุนแรง

           การใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะและขนาดของงานจะส่งผลไปถึงค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เพราะทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพการปลูกผักในประเทศยังนิยมใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่เพราะแปลงปลูกยังไม่มีการกำหนดระยะปลูกที่แน่นอน สภาพพื้นที่ปลูกไม่สม่ำเสมอ การสุกของผลไม่พร้อมกัน และค่าแรงงานยังต่ำอยู่ แต่เครื่องทุนแรงจะมีบทบาทมากในบางขั้นตอน การทำสวนผัก คือ การเตรียมดินและการให้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นสวนผักขนาดเล็กหรือสวนผักขนาดใหญ่ เช่น สวนผักขนาดเล็กหลายแห่งในภาคกลางจะเปลี่ยนจากการใช้จอบในการเตรียมดิน มาใช้รถไถเดินตาม หรือรถแทรกเตอร์พร้อมเครื่องไถขนาดเล็ก และใช้เครื่องสูบน้ำติดบนเรือขนาดเล็ก ซึ่งทำพิเศษสำหรับรดน้ำใส่ปุ๋ยและกำจัดศัตรูพืชในแปลงผัก

5. พันธุ์

     ต้นพันธุ์และเมล็ดพันธุ์ที่ดีเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูง และมีคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด หรือโรงงานแปรรูป

6. ระบบการปลูกพืช

     การวางระบบการปลูกพืชผักนับว่าสำคัญมาก เพราะช่วยให้ใช้พื้นที่ปลูกได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การพิจารณาเรื่องนี้ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ

7. การขาย

     6ข้อที่กล่าวมา เป็นเรื่องของการผลิตและคุณภาพ แม้คุณภาพจะดีแต่ขายไม่ได้ 6ข้อแรกก็ไม่มีประโยชน์ 

            การทำสวนผักในบ้านเรามีหลายประเภท ตั้งแต่สวนครัวสวนผักการค้าแถบชานเมือง สวนผักการค้าขนาดใหญ่ สวนผักผลิตเพื่อส่งโรงงานแปรรูป สวนผักผลิตนอกฤดูกาลหรือภายใต้สภาพควบคุม สวนผักเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ สวนผักประเภทต่างๆ นี้จำเป็นต้องมีแผนการปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ แรงงาน ทุน  และการตลาด เพื่อมีผลให้ได้มาซึ่งกำไรสูงสุด ดังนั้น การวางแผนทำเกษตรจึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละสถานที่และประเภทสวนผัก ไม่มีแผนทำสวนผักใดจะเหมาะสมกับทุกสภาพและทุกสถานที่ โดยทั่วไปแผนการทำสวนผักมีองค์ประกอบต่างๆ

ถ้าคุณชอบสาระเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเกษตร หรือเรื่องราวการทำ “ภูมินิเวศเกษตร” สามารถติดตามได้ที่ เพจ นิทานบ้านไร่ bokujou

แบ่งปันให้เพื่อนได้อ่าน

กดติดตามเรื่องราวการเกษตร “ภูมินิเวศเกษตร”
ได้ที่เพจ นิทานบ้านไร่ bokujou ด้านล่างนี้

Top